โครงสร้างหลักสูตร
หลัก สูตรที่พัฒนาใหม่จะต้องมีโครงสร้างและมาตรฐานตามเกณฑ์มาตรฐานหลักสูตรที่ สำนักงานคณะกรรมการอุดมศึกษากำหนด เช่น โครงสร้างหลักสูตรตามเกณฑ์มาตรฐานหลักสูตร ระดับปริญญาตรี พ.ศ. 2548 กำหนดจำนวนหน่วยกิต รวมระดับปริญญาตรี ( 4 ปี ) มีจำนวนหน่วยกิตรวมตลอดหลักสูตรไม่น้อยกว่า 120 หน่วยกิต
โครงสร้างหลักสูตร
1. หมวดวิชาศึกษาทั่วไป ไม่น้อยกว่า 30 หน่วยกิต
2. หมวดวิชาเฉพาะ ไม่น้อยกว่า 84 หน่วยกิต
3. หมวดวิชาเลือกเสรี ไม่น้อยกว่า 6 หน่วยกิต
ขั้นตอนการปรับปรุง / พัฒนาหลักสูตร
1. การสัมมนาทางวิชาการเพื่อ การประเมินการใช้หลักสูตร เพื่อนำมาสู่การพัฒนาหลักสูตร
2. จัดทำ ร่าง หลักสูตรปรับปรุง / หลักสูตรใหม่
3. คณะกรรมการประจำคณะพิจารณากลั่นกรอง ร่างหลักสูตรปรับปรุง / หลักสูตร ใหม่
4. คณะเสนอหลักสูตรปรับปรุง / หลักสูตรใหม่ ต่อสภาวิชาการ
5. สภาวิชาการเสนอหลักสูตรปรับปรุง / หลักสูตรใหม่ ต่อ สภามหาวิทยาลัย
6. มหาวิทยาลัยเสนอหลักสูตรปรับปรุง / หลักสูตรใหม่ ให้สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษาเห็นชอบและเสนอสภาวิชาชีพ (คุรุสภา) เพื่อให้การรับรอง
การบริหารหลักสูตร
1. ระบบการจัดการศึกษา ใช้ระบบทวิภาค
2. ระบบการจัดการเรียนการสอน
2.1 มีการจัดทำแผนการเรียนของนักศึกษาตลอดหลักสูตร
2.2 กรรมการโปรแกรมวิชา กรรมการบริหารหลักสูตรประจำสาขาวิชาและจัดอาจารย์สอนในวิชาต่างๆ
2.3 อาจารย์ผู้สอน ประกอบด้วย อาจารย์ประจำ พนักงานราชการ อาจารย์ประจำตามสัญญา อาจารย์พิเศษ และวิทยากร
2.4 การสอนแต่ละรายวิชา อาจารย์ผู้สอนจะต้องปฏิบัติ ดังนี้
2.4.1 จัดทำแนวการสอน ( Course Syllabus ) มคอ. 3 , มคอ. 5
2.4.2 สอนด้วยเทคนิคการสอนที่หลากหลายโดยเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ
2.4.3 จัดกิจกรรม/ทดสอบ คะแนนพัฒนาการ เก็บคะแนนระหว่างเรียน
2.4.4 แจ้งผลคะแนนการจัดกิจกรรม/ทดสอบระหว่างภาคเรียน
2.4.5 สอบกลางภาคเรียน และสอบปลายภาคเรียน
2.4.6 นักศึกษาประเมินการสอนของอาจารย์ ทุกภาคเรียน
2.4.7 อาจารย์นำผลการประเมินมาปรับปรุงการสอนสำหรับภาคเรียนใหม่
2.4.8 อาจารย์ทำวิจัยในชั้นเรียนเพื่อพัฒนาและปรับปรุงการสอนให้มีคุณภาพมากขึ้น
3. การประเมินผลการศึกษาเป็นไปตามข้อบังคับสภามหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐมว่าด้วยการประเมินผลการศึกษา พ.ศ. 2548่
4. ระบบอาจารย์ที่ปรึกษา นักศึกษาทุกหลักสูตรมีอาจารย์ที่ปรึกษาทางวิชาการ อาจารย์ที่ปรึกษาชุมนุม อาจารย์ที่ปรึกษาโครงงาน และ อาจารย์ที่ปรึกษางานวิจัย
5. กิจกรรมเสริมหลักสูตร ได้แก่ การศึกษาดูงาน การฝึกอบรม / สัมมนา การฝึกภาคสนาม กิจกรรมกีฬา กิจกรรมทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม และ ค่ายอาสาพัฒนา
6. การพัฒนาอาจารย์และบุคลากรทางการศึกษาอย่างต่อเนื่อง เช่น การศึกษาต่อ การจัดทำผลงานทางวิชาการ และ การศึกษาดูงาน ฝึกอบรม ประชุมและสัมมนา ทั้งในประเทศและต่างประเทศ
7. การประกันคุณภาพของหลักสูตร ประกอบด้วย
7.1 การบริหารหลักสูตร มีการบริหารที่เป็นระบบ มีคณะกรรมการบริหารหลักสูตรและคณะกรรมหารบริหารหลักสูตรและคณาจารย์ผู้รับ ผิดชอบหลักสูตรทำหน้าที่ควบคุมและกำกับดูแลตรวจสอบ ประเมิน และปรับปรุงหลักสูตร เพื่อให้เกิดคุณภาพ
7.2 ทรัพยากรประกอบการเรียนการสอน รวมทั้งอุปกรณ์โสตทัศนูปกรณ์และอุปกรณ์ทางด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ
7.3 การสนับสนุนและการให้คำแนะนำนักศึกษา ด้วยระบบอาจารย์ที่ปรึกษาและมีการประเมินอาจารย์ที่ปรึกษาทุกปีการศึกษา
7.4 การสำรวจติดตามการมีงานทำของบัณฑิต ปีละ 1 ครั้ง และ การสำรวจความพึงพอใจของผู้ใช้บัณฑิต ทุก 5 ปี / 1 ครั้ง เพื่อสำรวจความต้องการของตลาดแรงงาน
8. การปรับปรุง / พัฒนาหลักสูตร มีหลักการดังนี้
8.1 หลักสูตรจะต้องมีการปรับปรุงและพัฒนาให้ทันสมัย เป็นระยะๆ ทุกๆ 5 ปี
8.2 มีการประเมินเพื่อพัฒนาหลักสูตรอย่างต่อเนื่องทุก 5 ปี
8.3 การปรับปรุง / พัฒนาหลักสูตรกระทรวงศึกษาธิการ พ.ศ. 2548 ตามเกณฑ์มาตรฐานหลักสูตรของสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา
8.4 คณะครุศาสตร์มีแผนงาน / โครงการ โดยจัดทำเป็น ปรับปรุงหลักสูตรเดิมที่เปิดสอนในระบบอยู่แล้วโดยปรับปรุงในระดับ รายวิชา เช่น การเปลี่ยนชื่อรายวิชา การเพิ่มรายวิชาเลือก และการปรับคำอธิบายรายวิชา โดยไม่กระทบโครงสร้างหลักสูตรและเนื้อหาสาระในหมวดวิชาเฉพาะ
ปรับปรุงหลักสูตรเดิมที่เปิดสอนในระบบอยู่แล้วโดยปรับปรุงสาระสำคัญของหลักสูตร ได้แก่
1. ชื่อหลักสูตร ชื่อปริญญา
2. วัตถุประสงค์ของหลักสูตร
3. โครงสร้างหลักสูตร
4. เนื้อหาสาระในหมวดวิชาต่างๆ 1 หลักสูตร คือ หลักสูตรประกาศนียบัตรบัณฑิต สาขาวิชาชีพครู